22 ธ.ค. 2554 เวลา 10:45 น., โดย จำรัส เซ็นนิล
บุก..ไวอาก้าเมืองไทย
บุก…ไวอาก้าเมืองไทย
จำรัส เซ็นนิล รวบรวม/เรียบเรียง
ช่วงนี้มีคนสอบถามผมมาแทบทุกวันเรื่องต้นบุก บางคนรู้จักต้น ไม่รู้จักสรรพคุณ บางคนไม่รู้จักทั้งต้นและสรรพคุณ พอบอกว่าเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณยิ่งกว่าไวอาก้า(ตัวยาเพิ่มสมรรถนะทางเพศ) ถึงกับร้องเสียงหลง
“ เอ้ย...จริงหรือครับคุณจำรัส”
ผมก็ตอบไปว่าจริงไม่จริงไม่รู้ แต่คุณนิล ปักษา บ้านหนองพลวง ต.โคกกลาง อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ บอกมาว่า แนะนำให้ไปลองพิสูตรแล้ว ทุกรายโทรกลับมา..ลากเสียงยาวๆว่า คุณ เ อ้ ยๆๆๆๆๆๆ ผมฟังแล้วอดขำไม่ได้ทำไมลากเสียงยาวจัง แสดงว่าประทับใจ
“คุณจำรัส บางราย ต้องหาสมุนไพรมาแก้ เพราะคึกแล้วไม่ยอมหลับ” อะไรจะขนาดนั้น
“ บุกที่ใช้เป็นบุกพันธุ์อะไร” ผมถามคุณนิล
“ บุกคางคกครับ คุณจำรัส จะเอาไหมครับ จะส่งไปให้”
“ ไม่เป็นไรครับ ผมยังแข็งแรงดี” ผมตอบอย่างไม่ต้องคิด
หลังจากนั้นคุณนิล ก็เล่ากรรมวิธีการทำสูตรยาสมุนไพรไวอาก้าให้ผมฟัง แนะนำทั้งวิธีผูกและวิธีแก้ สมุนไพรบุกบ้านเราเจ๋งจริงๆ วัตถุดิบหาได้ในท้องถิ่น การทำสูตรยาก็ง่าย ได้ผลดีอย่าว่าเป็นร้อยเลย เกินร้อยและล้านเปอร์เซ็นต์ครับ
คนไทยรู้จักต้นบุก ซึ่งทางภาคอีสานเรียกว่า “กะบุกหรือ อีลอก” ใช้เป็น อาหารกันมาช้านานแล้ว โดยใช้ต้น ใบ และหัวบุกมาทำขนม เช่น ขนมบุก แกงบวชมันบุก แกงอีสาน (แกงลาว) ซึ่งการนำบุกมาทำอาหารจะแตกต่าง กันในแต่ละภาค
อย่างภาคตะวันออกแถบจันทบุรีผู้คนมักฝานหัวบุกเป็นแผ่น บางๆ แล้วนำมานึ่งรับประทานกับข้าว ชาวเขาทางภาคเหนือมักนำมา ปิ้งก่อนรับประทาน ภาคกลางมักนำหัวบุกที่ฝานเป็นชิ้นบางๆ มาแช่น้ำปูน แช่น้ำก่อนล้างหลายๆ ครั้งแล้วจึงนำไปทำเป็นอาหารหวาน หัวบุก มีแป้งที่เรียกว่า “แมนแนน” (mannan) สำหรับผู้เป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน และใช้ทำอาหารจำพวกวุ้นเส้น วุ้นแท่งหรือวุ้นอื่นๆ เป็นอาหาร ที่ปรุงรสได้ดี รสชาติคล้ายปลาหมึก
แป้งบุกมีลักษณะเป็นวุ้นเมื่อผสมน้ำ จะขยายตัวได้มากถึง 30 เท่า โดยไม่ต้องต้ม สาวๆบางคนอาจเคยใช้บุกเป็นอาหารลดความอ้วนมาแล้ว บุกที่รับประทานได้มีเพียง 3 สายพันธุ์ โดยเฉพาะชนิดที่นำมา เป็นอาหารสำหรับลดความอ้วน คือ A. oncophyllus หรือบุกไข่ สาเหตุ ที่เรียกเป็นบุกไข่ คือ มีลักษณะพิเศษมีไข่อยู่ตามลำต้นที่สายพันธุ์อื่นของบุก ไม่มี พบมากที่จังหวัดลำปาง พะเยา ตาก เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน กาญจนบุรี และประจวบคีรีขันธ์
สารสำคัญที่พบในบุก ที่สามารถเป็นอาหารลดความอ้วน คือ “กลูโคแมนแนน” (glucomannan) เป็นสารโมเลกุลใหญ่ (polysaccharides)ที่ประกอบด้วยน้ำตาล 2 ชนิด คือ ดี-กลูโคส (D-glucose) และ (D-mannose) เป็นสารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพในรูปของใยอาหาร (dietary fiber) เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอินโดจีน เช่น ไทย ลาว เขมร เวียดนาม อินโดนีเซีย เป็นต้น ในประเทศญี่ปุ่น จะถือว่าการบริโภคบุกเป็นประเพณีที่สืบทอด กันมานานปี เรียกว่า “Konjac” (คอนจัค) และรวมถึงประเทศอื่นๆ ในแถบ ยุโรปและอเมริกา เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมันตะวันตก ฯลฯ
ในขณะที่ ประเทศไทยเรียกพืชชนิดนี้ว่า “บุก” หรือ “กะบุก” และนิยมรับประทานใน รูปของยาเม็ดก่อนอาหารจะทำให้กินอาหารได้น้อย เพราะมีคุณสมบัติของ กลูโคแมนแนนที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ การพองตัวในน้ำได้มาก บุก หรือบางแห่งก็เรียก มันเท้าช้าง เรียกแตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น เช่น บุก มันบุก มันซูรัน มันหูช้าง มันเท้าช้าง ฟังเพราะ ดอกก้าน กระแท่ง บุกคุงคก เบีย เบือ ลอกใหญ่ และในต่างประเทศจะเรียกว่า อีเลฟฟันท์ แยม (Elephant Yam) อีเลฟฟันท์ ฟุท แยม (Elephant Foot Yam) หรือ อีเลฟฟันท์ เบรด (Elephant Bread)
ใครเอาบุกมากินให้ระมัดระวังหน่อยนะครับ บุกเป็นพืชที่สามารถใช้ทำอาหารได้ทั้งส่วนของลำต้น ใบ ดอก และหัวที่อยู่ใต้ดินของบุกชนิดที่รับประทานได้ โดยที่ก่อนนำมาบริโภค ควรทำการต้ม ย่าง หรือปิ้งให้สุกก่อน เช่น ใบและดอกบุก นิยมบริโภคเป็นอาหารประเภทผัก โดยใช้ใบอ่อนที่ใบยังไม่คลี่หรือดอกมาต้มให้สุกก่อน นำมาเป็นผักจิ้มน้ำพริกหรือผัดกับน้ำมันหอยหรือเนื้อสัตว์ก็ได้ เพราะจะมีรสชาติคล้ายกับหน่อไม้ฝรั่ง ส่วนต้นอ่อนของบุกทั้งบุกบ้านและบุกป่า ต้องต้มในน้ำเดือดก่อน มิฉะนั้นเวลารับประทานจะมีอาการคันคอ เนื่องจากมีผลึกของแคลเซียมออกซาเลทอยู่
มีรายงานว่า หัวบุก มีสารสำคัญ คือ กลูโคสแมนแนน ซึ่งเป็นสารคาร์โบไฮเดรต ประกอบด้วย กลูโคส แมนโนส และฟลุคโตสแป้งแมนแนนในหัวบุกประกอบด้วยน้ำตาลแมนโนสที่ย่อยช้า ซึ่งจากการวิจัยพบว่า ขบวนการย่อยของแมนโนสในร่างกายมนุษย์นั้น จะถูกดูดซึมได้ช้ากว่ากลูโคส ดังนั้นจะช่วยชะลอเวลาการเพิ่มน้ำตาลในเลือดได้อย่างมาก จึงเหมาะที่จะใช้สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน นอกจากนี้แล้วยังใช้ในการควบคุมอาหารสำหรับผู้ที่เป็นโรคอ้วน (Obesity) ได้ด้วย ทั้งนี้เพราะแป้งชนิดนี้สลายตัวได้ง่าย และไม่ตกค้างอยู่ในลำไส้เหมือนแป้งชนิดอื่นๆ ดังนั้นจึงเหมาะที่จะใช้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคไขมันในเลือดสูงด้วย
นอกจากนี้ยังมีผู้รวบรวมคุณประโยชน์ของบุกเพื่อใช้เป็นยารักษาโรคและคุณค่าทางสมุนไพร ไว้ในตำราสมุนไพรของไทยโบราณ ดังต่อไปนี้ หัวบุก ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ ขับลม แก้บิด แก้โรคไขข้ออักเสบ บำรุงกำลัง แก้ริดสีดวงทวารหัวสด ใช้ขับเสมหะ หุงเป็นน้ำมันใส่แผล กัดฝ้า กัดหนอง และใช้เป็นยาพอกได้นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า มีการใช้น้ำจากหัวบุกต้มผสมกับยางน่องสำหรับไว้ใช้ยิงสัตว์ด้วย ราก ใช้พอกฝี ขับระดู และแก้ริดสีดวงทวาร
บุกที่มีกลูโคแมนแนน มากที่สุดคือ บุกคางคก คุณนิล ปักษา แนะนำวิธีทำตำรับยาสมุนไพร(ไวอาก้า)ไว้ว่าให้เอาไม้พาดปากหม้อแล้วนำสมุนไพรบุกคางคก เอาพวงเมล็ดซึ่งมีมากกว่าบุกชนิดอื่นน่ำไปย่างไฟให้หอม ก่อนแล้วใช้ผูกกับไม้ห้อยจุ่มลงไปในหม้อต้มใส่น้ำพอท่วมเมล็ดบุก ต้มจนเมล็ดบุกร่วงลงในหม้อ ตัวยาก็จะไหลลงมาด้วย พอเดือดเติมน้ำตาลทรายแดงลงไปต้มต่อกะพอประมาณค่อยๆเติมให้หวานนิดๆ หลังจากนั้นลองชิมดูถ้ายังคันคออยู่แสดงว่าไม่ผ่าน ให้เติมน้ำตาลเพิ่ม ระวังน้ำตาลค่อยๆเติม...แล้วชิมใหม่ ถ้าไม่มีอาการคันคอแสดงว่าผ่าน คุณนิล ปักษา บอกว่าให้นำสมุนไพรโด่ไม่รู้ล้มใส่เข้าไปด้วยประมาณ ๑ กำมือ ต้มให้เดือด แล้วปล่อยให้เย็นเก็บไว้ในตู้เย็น ดื่ม ๑ เป็ก ประมาณ ๑๐ นาที จะปวดปัสสาวะ โดยธรรมชาติ หลังจากนั้นแม่เจ้าพระคุณเอ้ยๆๆๆๆ ผมคงไม่ต้องเล่า เพราะคุณนิลเล่าให้ผมฟังเห็นภาพหมดเลย
คุณนิลบอกแต่เพียงว่า “ พี่เลี้ยงลงจากเวที นักมวยจะชกแล้ว..ยั้งไม่อยู่แน่นอน” ผมว่า ควรดื่มทั้งมุมแดงและมุมน้ำเงิน หลังจากนั้นตัวใครตัวมัน ฮ่าๆๆๆ ใครใจร้อนหาตัวยาไม่ได้ติดต่อ คุณนิล ปักษา ได้ที่ ๐๘-๔๓๕๙-๐๐๓๕ เย็นวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๔
เสียงโทรศัพท์จากคุณเลี่ยม แสงยิ่ง จากบ้านบะเจริญ ต.สระขวัญ จ.สระแก้ว
“ คุณจำรัส ช่วงนี้ บุกที่สวนผมออกมาเต็มไปหมดเลยจะทำยังไงดี เดี๋ยวผมจะส่งไปให้คุณจำรัส ๕ กิโลกรัม ปรุงเสร็จได้ผลประการใด แจ้งผมด้วย”
เห็นไหมครับเดือดร้อนผมแล้ว ใครสนใจช่วยสงเคราะห์หน่อย โทรไปที่ คุณเลี่ยม ๐๘-๕๔๔๕-๖๑๐๒ ช่วงนี้ผมยุ่ง คงไม่มีเวลาผลิต อีกอย่างผมไม่มีเวทีชก ฮ่าๆๆ
-----------------------------------------------------------