เรื่องเล่าสุขภาพ

โรคนิ่วไม่ต้องผ่าตัด
                        โรคนิ่วไม่ต้องผ่าตัด
                     “ รักษาด้วยแตงกวากับสารส้ม”
                                                                                         จำรัส  เซ็นนิล  รวบรวม/เรียบเรียง
    พูดถึงโรคนิ่วใครที่เคยเป็นโรคนี้จะรู้รสชาติถึงความเจ็บปวดของมันดีว่าทรมานขนาดไหน แม้ตัวผมเองครั้งหนึ่งก็เคยประสบ ปวดปั้นเอวจนทำตัวไม่ถูกดิ้นทุรนทุราย ร้องโอดโอย นอนไม่ได้ ต้องไปโรงพยาบาล ตรวจปัสสาวะ ฉีดสี เอ็กซเรย์ ข้อสำคัญไปโรงพยาบาลต้องเข้าคิวยาวเป็นหางว่าว ต้องรอกันทั้งวัน
    “เชิญคุณจำรัส เข้าตรวจที่ห้องหกค่ะ”เสียงเจ้าหน้าที่เรียกมาทางเสียงตามสาย นอกจากผมเดินไปที่ห้องหกแล้วยังมีผู้หญิงวัยกลางคนเดินไปที่ห้องหกเหมือนกัน เสียงตามสายดังสำทับมาอีก
  “เชิญนางจำรัสค่ะ”  ได้ยินคำว่านางจำรัส ผมสะดุ้งใช้ดิสเบรกหยุดปลายเท้าหยุดการเคลื่อนไหว นางจำรัสจึงเดินแซงเข้าห้องหกได้สำเร็จ
   “ เลยเพิ่งรู้ว่าคนชื่อจำรัส มีผู้หญิงใช้เหมือนกัน” ฮ่าๆๆ  หญิงวัย ๕๐ กว่า ป่วยเป็นโรคนิ่วเหมือนกันลูกๆพามาตรวจ และยังมีอีกนับร้อยที่ป่วยเป็นโรคนี้ ส่วนหมอตรวจมีเพียงคนสองคน แต่ห้องตรวจมี ๗-๘ ห้อง พอตรวจห้องหนึ่งเสร็จ หมอก็จะวิ่งมาห้อง ๕ ห้อง ๗ ห้อง ๖ สลับกันไป เป็นอย่างนี้ได้อย่างไร ถ้าไม่เป็นโรคเราคงไม่รู้ว่าหมอเขาทำเช่นนี้เอง สงสัยหมอขาดแคลน ฮ่าๆๆ
   เจ้าหน้าที่บอกผมไปเปลี่ยนชุดเพื่อเตรียมเอกซเรย์และฉีดสี พร้อมชี้มือไปทางมุมห้อง ผมรีบทำตาม เดินเข้าไปในห้องดึงประตูตู้เสื้อผ้าหยิบชุดคนป่วยมาเปลี่ยน เสร็จสรรพก็เดินออกจากห้องด้วยความมั่นใจ
  “ โทษค่ะผู้ป่วยนี่มันชุดผู้ป่วยหญิงค่ะ ชุดผู้ป่วยชายเดินไปอีกหน่อยถัดจากห้องเสื้อผ้าผู้ป่วยหญิงค่ะ”  เสียงพยาบาลตะโกนมา
         ผมสะดุ้งรีบหันกลับไปอย่างรวดเร็ว ก้มลงมองตัวเอง มันเป็นเสื้อคลุมตัวเดียวเหมือนเสื้อคลุมนอนของผู้หญิง พอเดินเข้าห้องเสื้อผ้าชาย มีเสื้อกับกางเกงแยกกัน ซวยเลยตู  ฮ่าๆๆ
      ช่วงหลังหมอนัดอีก ด้วยความกลัวการผ่าตัดจึงไม่ญาติดีกับหมออีกต่อไป ทำเป็นไม่รู้จักกันและไม่เคยรู้จัก คือไม่ไปหาหมออีกเลย หันมาหาสมุนไพรดื่มดีกว่า หลังจากใช้สมุนไพรแล้วปัจจุบันอาการปวดที่เคยได้รับก็ไม่มาเยือนอีกเลย
     สมุนไพรที่จะแนะนำในการรักษานิ่วทุกชนิดคือแตงกวา พืชผักในสวนครัวเรานี่เอง หาง่าย  แตงกวามีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น แตงขี้ไก่ แตงขี้ควาย แตกช้าง แตงปี แตงร้าน  มีข้อมูลว่าแตงชนิดนี้ถิ่นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย


     ประโยชน์ของแตงกวามีเยอะครับแก้ร้อนในกระหายน้ำ ช่วยกำจัดของเสียที่ตกค้างในร่างกาย ในแตงกวามีสารฟีนอลที่ทำหน้าที่ต่อต้านอนุมูลอิสระ ต้านมะเร็ง ลดความดัน เพิ่มความจำเส้นใยอาหารจากแตงกวาช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอล ให้พลังงานต่ำเหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
      นอกจากนั้นยังช่วยในการขับปัสสาวะ ป้องกันและแก้อาการท้องผูกช่วยลดอาการของโรคเกาต์ โรคไขข้อรูมาติซั่ม ภูมิปัญญาพื้นบ้านเราที่โดดเด่นในการรักษาโรคนิ่ว คือได้นำแตงกวากับสารส้มมาร่วมในการรักษา โดยใช้มีดปาดปลายด้านใดด้านหนึ่งของแตงกวาอย่าให้ขาดแล้วใช้สารส้มขนาดเท่าหัวแม่มือยัดเข้าไปแล้วปิดไว้ หลังจากนั้นเอาไปนึ่งให้สารส้มละลายลงในแตงกวา แล้วนำแตงกวามากินให้หมด ปัญหาโรคนิ่ว จะหายไปอย่างน่าอัศจรรย์



      ส่วนสารส้มจัดเป็นตัวยาสมุนไพรตัวหนึ่งในกลุ่มพวกธาตุวัตถุ มีลักษณะคล้ายกับน้ำตาลกรวด ถ้ามาวางคู่กันมองเผิน ๆ ถ้าคนไม่ชำนาญก็ดูไม่ออก ลักษณะที่แตกต่าง คือ สารส้มเป็นก้อนผลึกสีขาวขุ่น ไม่มีกลิ่น มีรสฝาดมาก
           ในสมัยก่อนคนไทยใช้สารส้มในชีวิตประจำวันมาก โดยเอามาทารักแร้ดับกลิ่นตัว ใช้ทาส้นเท้าแตก โดยเฉพาะในแถบชาวชนบทที่ต้องตักน้ำจากบ่อหรือคลอง หรือสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ น้ำจะขุ่นไม่สะอาด จะเอาสารส้มไปแกว่งน้ำ แล้วทิ้งไว้ให้ตกตะกอนนอนก้นจนได้น้ำใสสะอาดสำหรับดื่มและใช้อาบได้   
           สารส้มจัดเป็นยาสำคัญในตู้ยาประจำบ้าน ชาวบ้านจะนำมาใช้ห้ามเลือดในกรณีที่เป็นแผลตื้นไม่ลึกมาก หรือบดเป็นผงละเอียดใช้โรยแผล ในสมัยก่อนเขาจะให้พวกที่ถอนฟันอม โดยใช้สารส้ม ๑ ส่วน ละลายกับน้ำเย็น ๙ ส่วน หรือละลายกับน้ำร้อนต้มเดือด ๓ ส่วน ใช้อมห้ามเลือด หรือใช้อมเป็นประจำเพื่อป้องกันฟันโยกคลอน และแก้บาดแผลในปาก แม้ผู้หญิงก็มักนำสารส้มละลายกับน้ำ ใช้ล้างช่องคลอดเพื่อรักษาอาการคันและตกขาวได้เหมือนกัน
       สรรพคุณของแตงกวากับสารส้ม มีมากมายสุดยอดจริงๆ บางครั้งมันอยู่ใกล้ตัวเราเกินไปจนเรามองผ่านเหมือน มอ-สระ-เอีย -เมีย ฮ่าๆๆ   เรื่องแบบนี้หากเราศึกษาภูมิปัญญาไทยแล้วนำมาใช้ แทบไม่ต้องลงทุน-รอนอะไรมากมาย ไม่ต้องไปหาหมอ ไม่ต้องไปตรวจฉี่ ไม่ต้องฉีดสี ไม่ต้องผ่าตัดและไม่เสียกะตังค์ ฮ่าๆๆ          
                                                      ---------------------------------------
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
  

blog comments powered by Disqus